เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง (端午节) มีชื่อเรียกที่คุ้นหูอีกหลายชื่อ เช่น เทศกาลเรืองมังกร เทศกาลตวนหยาง เทศกาลเดือนห้า เทศกาลเทียนจง ฯลฯ จะถูกจัดขึ้นในวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติ (农历) โดยจะมีพิธีบูชาเทพเจ้าและบรรพบุรษ เพื่ออธิษฐานขอพรและปัดเป่าวิญญาณชั่วร้าย โดยจะมีการเฉลิมฉลองในเทศกาลนี้ด้วย
(ในภาษาจีนโบราณ… คำว่า “端” หมายถึง จุดเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกอื่นว่า 端五,端阳 คือการเริ่มต้นของเดือน 5 นั่นเอง)
มีตำนานเล่าว่า… ในยุคสงครามรณรัฐ หรือยุคจ้านกั๋ว มีเสนาบดีทั้งยังเป็นกวีเอกแห่งรัฐฉู่นามว่า “ชวีหยวน (屈原)” เขาเป็นอีกหนึ่งคนที่มีความรักชาติและได้เสนอนโยบายต่างๆที่มีประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองมากมาย ต่อมาถูกใส่ความให้ร้ายโดยเหล่าขุนนางกังฉิน จึงถูกเนรเทศไปยังดินแดนเหนือแม่น้ำฮั่น ที่นี่เองที่เขาได้ประพันธ์บทกวี “หลี่เซา” บรรยายความทุกข์ระทมของตัวเอง ความทุกข์ยากของประชาชนที่มีกษัตริย์โง่เขลา และความโกรธแค้นที่มีต่อพวกขุนนาง เป็นร้อยกรองยาวถึง 373 บท 2500 ตัวอักษร เขาจมอยู่กับความทุกข์ที่เกิดจากความห่วงใยบ้านเมืองจนมีสุขภาพย่ำแย่ เขาชอบไปเดินอยู่ริมแม่น้ำเพื่อมองเงาสะท้อนของตัวเอง จนมีอยู่วันหนึ่งชาวเรือที่จำเขาได้ถามว่าเขาใช่ขุนนางชวีหยวนหรือไม่และเหตุใดจึงอยู่ในสภาพเช่นนี้ เขาได้บรรยายถึงความโสมมของราชสำนักและตัดพ้อว่าจะไม่ยอมให้ตัวเองแปดเปื้อนเพราะคนเหล่านั้น ยอมตายให้เป็นอาหารของปูปลาเสียดีกว่า และต่อมาที่รัฐฉู่ล่มสลาย เขาได้ทำการอัตวินิบาตกรรมโดยการใช้หินถ่วงตัวเองและกระโดดแม่น้ำมี่ลัว ในวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติ ชาวบ้านพากันงมหาร่างเขาหลายวันก็ไม่พบ จึงได้นำข้าวเหนียวปั้นที่เป็นเสบียงโยนลงไปในน้ำ เพื่อไม่ให้สัตว์น้ำกัดกินร่างของเขา จึงเป็นที่มาของ “ขนมบ๊ะจ่าง” นั่นเองและเนื่องจากเทศกาลนี้จัดขึ้นในเดือน 5 ซึ่งอยู่ในฤดูกาลที่มีอากาศร้อนชื้น เกิดโรคระบาดได้ง่าย งูชุกชุม คนโบราณจึงมองว่าเป็น “เดือนร้ายอีกทั้งยังมีเรื่องราวของ “ชวีหยวน” ทำให้คนมักจะไม่อวยพรกันว่า “端午节快乐” แต่เป็น “端午安康” แปลว่า ขอให้สุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้ป่วยนั่นเอง
赛龙舟 (sài lóngzhōu) :แข่งเรือมังกร
เป็นประเพณีหลักของเทศกาลตวนอู่ ที่มาก็มาจากการแข่งกันตามหาร่างของ “ชวีหยวน” ที่จมหายไปในแม่น้ำมี่ลัวนั่นเอง ว่ากันว่าทุกคนพายไปจนถึงทะเลสาบต้งถิง (洞庭湖) ถึงได้หยุดตามหา จึงเป็นที่มาของการพายเรืองมังกรนั่นเอง
端午食粽 (duānwǔ shí zòng) :ทานบ๊ะจ่าง
สืบเนื่องมาจากการตายของชวีหยวน ชาวบ้านต่างพากันเสียใจกับการจากไปของเขา จึงพากันไปตามหาร่างที่แม่น้ำ และเพื่อไม่ต้องการให้สัตว์น้ำกัดกินร่างของเขา ชาวประมงได้โยนข้าวปั้นที่เตรียมมาลงในแม่น้ำ ต่อมาจึงมีการห่อด้วยใบไม้ก่อนโยนลงไป
饮雄黄酒 (yǐn xiónghuángjiǔ) :ดื่มเหล้าสยงหวง
เหล้าสยงหวง เป็นเหล้าผสมกำมะถัน มีฤทธิ์ใช้ต้านพิษและฆ่าเชื้อ มักใช้ดื่มกันในเดือน 5 เพราะเป็นช่วงที่มีโรคระบาดได้ง่าย
挂艾草与菖蒲 (guà ài cǎo yǔ chāngpú) :แขวนอ้ายเฉ่ากับชางผูไว้ที่ประตูบ้าน
เพราะเชื่อว่าจะสามารถขับไล่สิ่งอัปมงคลได้ “อ้ายเฉ่า” มีชื่อในภาษาไทยว่า “โกฐจุฬาลัมพา” เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนและมีกลิ่นฉุน ช่วยขับเหงื่อ บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน และมีสรรพคุณอีกมากมาย ส่วน “ชางผู” นั้นคือ “ว่านน้ำ” มีสรรพคุณขับลม ทำให้เลือดไหลเวียน และยังเป็นเพืชที่อยู่ในตำรา “เปิ๋นเฉ่ากังมู่ (本草纲目)” อีกด้วย
拴五色丝线 (shuān wǔsè sīxiàn):การผูกไหม 5 สี
ในวัฒนธรรมจีนโบราณ “สีฟ้า สีแดง สีขาว สีดำ สีเหลือง” เป็นสัญลักษณ์ของธาตุทั้ง5 และเป็นสีมงคล โดยจะผูกไว้ที่ข้อมือหรือข้อเท้าของเด็กๆ เพื่อปัดเป่าสิ่งไม่ดีและวิญญาณชั่วร้ายนั่นเอง
เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง ยังเป็น 1 ใน 4 เทศกาลสำคัญทางวัฒนธรรมของจีน (เทศกาลตรุษจีน, เทศกาลเชงเม้ง,เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง,เทศกาลไหว้พระจันทร์) เพราะเป็นเทศกาลที่สำคัญ เก่าแก่ มีการสืบเนื่องกันมาอย่างยาวนานและแพร่หลายอย่างกว้างขวาง โดยในปี ค.ศ.2009 เทศกาลตวนอู่ยังเป็นเทศกาลแรกของจีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากองค์กร UNESCO และถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการประจำปีอีกด้วย
ประวัติเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง เทศกาลนี้มีที่มายังไง
เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง (端午节) มีชื่อเรียกที่คุ้นหูอีกหลายชื่อ เช่น เทศกาลเรืองมังกร เทศกาลตวนหยาง เทศกาลเดือนห้า เทศกาลเทียนจง ฯลฯ จะถูกจัดขึ้นในวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติ (农历) โดยจะมีพิธีบูชาเทพเจ้าและบรรพบุรษ เพื่ออธิษฐานขอพรและปัดเป่าวิญญาณชั่วร้าย โดยจะมีการเฉลิมฉลองในเทศกาลนี้ด้วย
(ในภาษาจีนโบราณ… คำว่า “端” หมายถึง จุดเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกอื่นว่า 端五,端阳 คือการเริ่มต้นของเดือน 5 นั่นเอง)
มีตำนานเล่าว่า… ในยุคสงครามรณรัฐ หรือยุคจ้านกั๋ว มีเสนาบดีทั้งยังเป็นกวีเอกแห่งรัฐฉู่นามว่า “ชวีหยวน (屈原)” เขาเป็นอีกหนึ่งคนที่มีความรักชาติและได้เสนอนโยบายต่างๆที่มีประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองมากมาย ต่อมาถูกใส่ความให้ร้ายโดยเหล่าขุนนางกังฉิน จึงถูกเนรเทศไปยังดินแดนเหนือแม่น้ำฮั่น ที่นี่เองที่เขาได้ประพันธ์บทกวี “หลี่เซา” บรรยายความทุกข์ระทมของตัวเอง ความทุกข์ยากของประชาชนที่มีกษัตริย์โง่เขลา และความโกรธแค้นที่มีต่อพวกขุนนาง เป็นร้อยกรองยาวถึง 373 บท 2500 ตัวอักษร เขาจมอยู่กับความทุกข์ที่เกิดจากความห่วงใยบ้านเมืองจนมีสุขภาพย่ำแย่ เขาชอบไปเดินอยู่ริมแม่น้ำเพื่อมองเงาสะท้อนของตัวเอง จนมีอยู่วันหนึ่งชาวเรือที่จำเขาได้ถามว่าเขาใช่ขุนนางชวีหยวนหรือไม่และเหตุใดจึงอยู่ในสภาพเช่นนี้ เขาได้บรรยายถึงความโสมมของราชสำนักและตัดพ้อว่าจะไม่ยอมให้ตัวเองแปดเปื้อนเพราะคนเหล่านั้น ยอมตายให้เป็นอาหารของปูปลาเสียดีกว่า และต่อมาที่รัฐฉู่ล่มสลาย เขาได้ทำการอัตวินิบาตกรรมโดยการใช้หินถ่วงตัวเองและกระโดดแม่น้ำมี่ลัว ในวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติ ชาวบ้านพากันงมหาร่างเขาหลายวันก็ไม่พบ จึงได้นำข้าวเหนียวปั้นที่เป็นเสบียงโยนลงไปในน้ำ เพื่อไม่ให้สัตว์น้ำกัดกินร่างของเขา จึงเป็นที่มาของ “ขนมบ๊ะจ่าง” นั่นเองและเนื่องจากเทศกาลนี้จัดขึ้นในเดือน 5 ซึ่งอยู่ในฤดูกาลที่มีอากาศร้อนชื้น เกิดโรคระบาดได้ง่าย งูชุกชุม คนโบราณจึงมองว่าเป็น “เดือนร้ายอีกทั้งยังมีเรื่องราวของ “ชวีหยวน” ทำให้คนมักจะไม่อวยพรกันว่า “端午节快乐” แต่เป็น “端午安康” แปลว่า ขอให้สุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้ป่วยนั่นเอง
ประเพณีที่นิยมกันกันใน “วันไหว้บ๊ะจ่าง”
赛龙舟 (sài lóngzhōu) :แข่งเรือมังกร
เป็นประเพณีหลักของเทศกาลตวนอู่ ที่มาก็มาจากการแข่งกันตามหาร่างของ “ชวีหยวน” ที่จมหายไปในแม่น้ำมี่ลัวนั่นเอง ว่ากันว่าทุกคนพายไปจนถึงทะเลสาบต้งถิง (洞庭湖) ถึงได้หยุดตามหา จึงเป็นที่มาของการพายเรืองมังกรนั่นเอง
端午食粽 (duānwǔ shí zòng) :ทานบ๊ะจ่าง
สืบเนื่องมาจากการตายของชวีหยวน ชาวบ้านต่างพากันเสียใจกับการจากไปของเขา จึงพากันไปตามหาร่างที่แม่น้ำ และเพื่อไม่ต้องการให้สัตว์น้ำกัดกินร่างของเขา ชาวประมงได้โยนข้าวปั้นที่เตรียมมาลงในแม่น้ำ ต่อมาจึงมีการห่อด้วยใบไม้ก่อนโยนลงไป
饮雄黄酒 (yǐn xiónghuángjiǔ) :ดื่มเหล้าสยงหวง
เหล้าสยงหวง เป็นเหล้าผสมกำมะถัน มีฤทธิ์ใช้ต้านพิษและฆ่าเชื้อ มักใช้ดื่มกันในเดือน 5 เพราะเป็นช่วงที่มีโรคระบาดได้ง่าย
挂艾草与菖蒲 (guà ài cǎo yǔ chāngpú) :แขวนอ้ายเฉ่ากับชางผูไว้ที่ประตูบ้าน
เพราะเชื่อว่าจะสามารถขับไล่สิ่งอัปมงคลได้ “อ้ายเฉ่า” มีชื่อในภาษาไทยว่า “โกฐจุฬาลัมพา” เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนและมีกลิ่นฉุน ช่วยขับเหงื่อ บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน และมีสรรพคุณอีกมากมาย ส่วน “ชางผู” นั้นคือ “ว่านน้ำ” มีสรรพคุณขับลม ทำให้เลือดไหลเวียน และยังเป็นเพืชที่อยู่ในตำรา “เปิ๋นเฉ่ากังมู่ (本草纲目)” อีกด้วย
拴五色丝线 (shuān wǔsè sīxiàn):การผูกไหม 5 สี
ในวัฒนธรรมจีนโบราณ “สีฟ้า สีแดง สีขาว สีดำ สีเหลือง” เป็นสัญลักษณ์ของธาตุทั้ง5 และเป็นสีมงคล โดยจะผูกไว้ที่ข้อมือหรือข้อเท้าของเด็กๆ เพื่อปัดเป่าสิ่งไม่ดีและวิญญาณชั่วร้ายนั่นเอง
เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง ยังเป็น 1 ใน 4 เทศกาลสำคัญทางวัฒนธรรมของจีน (เทศกาลตรุษจีน, เทศกาลเชงเม้ง,เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง,เทศกาลไหว้พระจันทร์) เพราะเป็นเทศกาลที่สำคัญ เก่าแก่ มีการสืบเนื่องกันมาอย่างยาวนานและแพร่หลายอย่างกว้างขวาง โดยในปี ค.ศ.2009 เทศกาลตวนอู่ยังเป็นเทศกาลแรกของจีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากองค์กร UNESCO และถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการประจำปีอีกด้วย
Recent Posts
Recent Comments
Categories